วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบโครงสร้างของการออกแบบเว็บไซต์

รูปแบบโครงสร้างของการออกแบบเว็บไซต์

      การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความถนัดของผู้ออกแบบ รวมถึงกลุ่มของเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบ แบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้


1. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ (Sequential Structure)
      เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาทั่วไปที่ใช้กันมากที่สุด เนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบ ข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราว ตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อน ใช้การลิงค์ (Link) ไปทีละหน้า โดยทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลัง เป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของการออกแบบโครงสร้างแบบเรียงตามลำดับคือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ทำให้เสียเวลา ในการเข้าสู่เนื้อหา

รูปแสดงตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ


2. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)

      เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจัดระบบโครงสร้างที่มีความซับซ้อน ของข้อมูล โดยแบ่งเนื้อหา ออกเป็นส่วนต่างๆ และมีรายละเอียดย่อย ๆ ในแต่ละส่วนลดหลั่นกันมาในลักษณะแนวคิดเดียวกับ แผนภูมิองค์กร จึงเป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจกับโครงสร้างของเนื้อหา ลักษณะเด่นคือการมีจุดเริ่มต้นที่จุดร่วมจุดเดียว นั่นคือ โฮมเพจ (Homepage) และเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับจากบนลงล่าง

รูปแสดงตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น


3. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง (Grid Structure)
      โครงสร้างรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่ผ่านมา การออกแบบเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ โดยเพิ่มการเชื่อมโยง ซึ่งกันและกันระหว่างเนื้อหาแต่ละส่วน เหมาะแก่การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของเนื้อหาภายใน การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้จะไม่เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง เนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ เช่น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของจังหวัดในประเทศไทย โดยในแต่ละจังหวัด สามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเหมือนกันคือ การปกครอง แหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม และสินค้าที่โด่งดังของแต่ละจังหวัด ในขณะที่ผู้ใช้กำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวของเชียงใหม่ ผู้ใช้อาจศึกษาหัวข้อสินค้าที่โด่งดังเป็นหัวข้อต่อไปก็ได้  หรือจะข้ามไปดูหัวข้อแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอื่นก่อนก็ได้เพื่อ

รูปแสดงตัวอย่าง โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง


4. โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม (Web Structure)
      โครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด โดยทุกหน้าภายในเว็บไซต์สามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกันได้หมด เป็นการสร้างรูปแบบการเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นอิสระ ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาได้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละหน้าอาศัยการโยงข้อความที่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาเหมือนกัน ของแต่ละหน้าในลักษณะของ Hyper Text หรือ Hyper Media โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็นรูปแบบที่ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนตายตัว (Unstructured) นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จำกัดเฉพาะเนื้อหาภายในเว็บไซต์นั้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหาจากเว็บไซต์ภายนอกได้

รูปแสดงตัวอย่าง โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม


      ในการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ดี จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจ ง่ายต่อการเยี่ยมชมของผู้ใช้ และยังมีผลต่อการมาเก็บขอมูล และการจัดอันดับของ Search Engine อีกด้วยด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการสำหรับทำเว็บไซต์

หลักการสำหรับการทำเว็บไซต์

      ในการทำเว็บไซต์นั้น ภายในเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ จะเกิดขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ได้ จะต้องประกอบไปด้วยเว็บเพจ ( Web Page ) จำนวนหลายๆหน้ามารวมกัน โดยเรียกหน้าแรกสุดว่า หน้าโฮมเพจ ( Home Page ) สรุปหลักการในการสร้างเว็บเพจหรือการทำเว็บไซต์ ได้ดังนี้

1. การวางแผน
      เริ่มต้นด้วยการกำหนดเนื้อหาที่จะใช้ภายในเว็บไซต์ ก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ เราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด เพื่อที่เราจะได้นำเนื้อหา เหล่านี้มาใส่ในเว็บไซต์ เพื่อสื่อให้ผู้เข้ามาในเว็บไซต์เรานั้นได้รู้ว่า เนื้อหาโดยรวมนั้นเกี่ยวกับอะไร   เช่น  เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ ก็ต้องมีข้อมูลและหลักการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

2. การออกแบบ
      เราต้องทำการออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบต่างๆในหน้าเว็บเพจ ว่าส่วนใดควรจะมีอะไร เช่น ข้อความ และรูปภาพ ควรอยู่ตรงส่วนไหน อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษไว้ก่อน หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ การแทรกตารางเข้าไป ยังช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บเพจนั้น ทำให้เว็บเพจดูเป็นระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการปรับปรุง แก้ไขอีกด้วย        
3. การเตรียมการ
      การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็น เนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่เราต้องการนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลจึงมีส่วนสำคัญ อย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับ การออกแบบ ก็ต้องไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบ Graphic และการออกแบบสิ่งพิมพ์ มารวบรวมไว้ภายในเว็บไซต์ของเรา แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลมาจัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เครื่องมือในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โปรแกรมในการจัดทำเว็บเพจ จะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้พร้อม

4. การจัดทำ
      เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อย แล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำ  อาจจะทำคนเดียว หรือทำเป็นทีม โดยแบ่งหน้าที่กันเป็นส่วนๆ เช่น ส่วนของคนออกแบบดีไซน์ ส่วนของคนลงโค๊ดเว็บไซต์ เป็นต้น

5. การทดสอบและการแก้ไข
      การทำเว็บไซต์ทุกครั้งควรจะมี การทดสอบก่อนเผยแพร่จริงบน Internet เพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขการทำเว็บไซต์นั้น เมื่อทำเสร็จและอัพโหลดไปบน HOSTING แล้วให้เพื่อนๆหรือคนรู้จัก ลองเข้าเว็บไซต์ของเรา เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดอีกครั้ง เช่น การเชื่อมโยงต่างๆในเว็บไซต์ , รูปภาพ และข้อความ ว่าถูกต้อง และโหลดช้า หรือไม่ หลังจากทดสอบแล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาด

      หลักการสำหรับการทำเว็บไซต์คร่าวๆก็มีเพียงเท่านี้ แต่รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน อาจจะแบ่งย่อยออกไปได้อีกมากมาย และยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สามารถพลิกแพลง และสอดแทรกเข้าไปได้ หรือหากบางท่านไม่สามารถทำเว็บไซต์เองได้ ก็ยังสามารถจ้าง ผู้ให้บริการ ออกแบบ รับทำเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์ให้ท่านได้ เพื่อความสะดวกสะบาย และความสวยงาม

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบแบ่งเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

ประเภทของการออกแบบ

      หลังจากที่ได้รู้ถึงความหมายของการออกแบบไปแล้ว ทีนี้เรามารู้ถึงประเภทของการออกแบบกันบ้าง ว่าการออกแบบ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง

1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ
การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก จะรับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง  งานทางสถาปัตยกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า  โบสถ์  วิหาร  ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน  เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง  เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
   เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
   ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์
ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย
หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ   ฯลฯ

3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้
ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ
ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงาน
ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องจักรกล
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ   ฯลฯ

4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ
ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร
(Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
- งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- การจัดบอร์ด
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ

5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) กราฟฟิคดีไซน์ เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์
ชนิดต่าง ๆ ได้แก่
- หนังสือ  หนังสือพิมพ์ 
- โปสเตอร์ 
- นามบัตร  และบัตรต่าง ๆ 
- งานพิมพ์ลวดลายผ้า
- งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ 
- งานออกแบบรูปสัญลักษณ์  
- เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ

6. การออกแบบเว็บไซต์ (Website Design)  เป็นการออกแบบที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในขณะนี้  เพราะในปัจจุบันเว็บไซต์ต่างมีบทบาทในชีวิตของคนเรามากขึ้น ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านธุรกิจ ทำให้คนเราต้องการทำเว็บไซต์ และต้องการคนออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์ โดยจะต้องมีเอกลักษณ์ และสื่อถึงสินค้าและบริการ หรือความเป็นตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์ให้มากที่สุด นักออกแบบเว็บไซต์ถูกเรียกว่า Web Designer

ตัวอย่างการออกแบบเว็บไซต์

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการออกแบบ | การออกแบบ คืออะไร


ความหมายของการออกแบบ

      ความหมายของการออกแบบ  การออกแบบ คืออะไร  ซึ่งความหมายของคำว่า "ออกแบบ" นั้นถูกให้คำนิยาม หรือคำจำกัดความ ไว้หลายรูปแบบมากมาย ตามความเข้าใจ การตีความหมาย และการสื่อสารออกมาด้วยตัวอักษรของแต่ละคน ตัวอย่างความหมายของการออกแบบ เช่น

- การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น การจะทำโต๊ะขึ้นมาซักหนึ่งตัว เราจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอน โดยต้องเริ่มต้นจากการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการทำโต๊ะนั้น ว่าจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม ในการยึดต่อระหว่างจุดต่างๆนั้นควรใช้ กาว ตะปู สกรู หรือใช้ข้อต่อแบบใด รู้ถึงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ความแข็งแรงและการรองรับน้ำหนักของโต๊ะสามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม เป็นต้น

- การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม และดูมีความแปลกใหม่ขึ้น เช่น โต๊ะที่เราทำขึ้นมาใช้ เมื่อใช้ไปนานๆก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง หรือสี เราก็จัดการปรับปรุงให้เป็น รูปแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิม ทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น

- การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ เป็นศิลปะของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้างค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์ด้วย

- การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด และสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

      การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้

1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน

2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้

3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้

ดังนั้นนักออกแบบ ( Designer ) คือ ผู้ที่พยายามค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หาวิธีแก้ไข หรือหาคำตอบใหม่ๆสำหรับปัญหาต่างๆ



วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รับออกแบบ ดีไซน์ เว็บไซต์ รับทำ website อย่างมีสไตล์

AllAlike-Design รับออกแบบ ดีไซน์ เว็บไซต์ งานสิ่งพิมพ์ โปสการ์ด โบรชัว โลโก้ นามบัตร งานปริ้นติ้ง รับประกันความสวยงาม และความสร้างสรรค์ ด้วยทีมงานมืออาชีพ สนใจติดต่อ 089-111 9795
หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ AllAlike-Design.com

Brand - แบรนด์ฺ คืออะไร มีวิธีและหลักการสร้างแบรนด์อย่างไร

Brand หรือ แบรนด์ (ตราสินค้า) คืออะไร มีความหมายอย่างไร

Brand - แบรนด์ ไม่ใช่แค่เพียงชื่อสินค้า ไม่ใช่แค่เพียง Logo ไม่ใช่แค่เพียงโฆษณา และไม่ใช่แค่รูปแบบของตัวบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ความหมายของ แบรนด์ จาก ผู้รู้ทางโฆษณา Mr. Jack Trout กล่าวไว้ว่า ตราสินค้า หรือ Brand -แบรนด์ คือความรู้สึก หรือ ความประทับใจโดยรวมต่อสินค้ายี่ห้อนั้นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภค ทั้งจากการโฆษณา ประสบการณ์การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคลากรจากสินค้าและการบริการ รวมถึง ประสบการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Brand - แบรนด์ นั้น


การสร้างตราสินค้า (Branding) แบรนดิ้ง

หลักของ การสร้างแบรนด์ ที่กระชับและเข้าใจง่ายที่สุดมี 2 ระดับ

1. การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของสินค้า (Positioning)

2. การสร้างความแตกต่างทางด้านความรู้สึก และอารมณ์  (Differentiation)

ในการสร้าง Brand ที่ดีนั้น เราจะต้องรู้จุดแข็ง คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง (Unique selling proposition) ของเรา จากนั้นนำเสนอมันออกมาบอกให้คนได้รับรู้ก่อนคู่แข่ง ยืนหยัดในการมีจุดยืนอย่าเปลี่ยนแปลง

ทฤษฎี positioning ข้อสำคัญคือ เป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค เพราะ คนส่วนใหญ่จะจดจำสิ่งแรกที่เข้ามาใจได้เสมอ


สิ่งสำคัญที่เจ้าของ แบรนด์ ต้องทราบถึง คือ

1. ทราบถึงกลุ่มเป้าหมาย

2. ทราบถึงจุดแข็ง และคุณประโยชน์ที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ


แบรนด์ - ชื่อเสียง (Reputation ไม่ใช่ Awareness) การสร้างแบรนด์คือการสร้าง ชื่อเสียง ชื่อเสียงสำคัญมากเป็นที่มาของความไว้วางใจ (Trust) เป็นที่มาของเครดิต เป็นสิ่งที่บอกถึงอดีตและกำหนดอนาคต ฉะนั้นแบรนด์คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ


ภาพลักษณ์กับเอกลักษณ์

การสร้างเอกลักษณ์ต้องมีภาพลักษณ์เข้ามาเกี่ยวข้องแต่ภาพลักษณ์อย่างเดียว ไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้

การสร้างแบรนด์มีหลายกลยุทธ์ แต่กลยุทธ์ที่แนะนำคือ การสร้างแบรนด์แบบมี เอกลักษณ์โดยที่เอกลักษณ์นั้น ๆ จะต้องโดดเด่น แตกต่างมีข้อได้เปรียบ และเป็นจุดยั่งยืน มิฉะนั้นการสร้างแบรนด์ก็จะเป็นการลงทุนระยะสั้นและสิ้นเปลือง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบรนด์ที่จะต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว และต้องครอบคลุมทั้งในด้านภาพ เสียง และ พฤติกรรม


การสร้างแบรนด์อย่างเป็นระบบ

เริ่มจากการหาจุดยืนที่แตกต่างของแบรนด์ + บุคลิกภาพของแบรนด์ = เอกลักษณ์ของแบรนด์
ในกระบวนการสร้างแบรนด์นั้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เอกลักษณ์แบรนด์ไม่ได้มีแค่การออกแบบโลโก้ แต่ต้องมีการถ่ายทอดในทุกกิจกรรมของแบรนด์ ซึ่งเป็นตัวการสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง


ดังนั้น สินค้าและบริการที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงจะต้องเข้าใจว่า Brand - แบรนด์ คืออะไร และองค์กรนั้น ๆ ต้องคิดออกแบบ องค์ประกอบรวมในการสร้างแบรนด์จึงจะสามารถสร้างได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด