วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Steve Jobs (สตีฟ จ๊อบส์) เสียชีวิตแล้ว ทั้งโลกร่วมกัน R.I.P. คืออะไร

Steve Jobs [สตีเฟน พอล] หรือ สตีฟ จอบส์ เป็นชาวอเมริกัน เกิดเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955

สตีฟ จอบส์ เป็นผู้นำธุรกิจและเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เค้าเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Apple ทั้งยังเคยได้รับตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร (CEO) ของบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ และยังเคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ใน ค.ศ. 2006 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการพิกซาร์ อีกด้วย

สตีฟ จอบส์ สร้างผลงานทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ที่มีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอาไว้มากมาย ตัวอย่าง เช่น  iPod , iPhone , iPad รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง MAC ที่มีจุดเด่นในด้านการออกแบบและการทำงานด้านกราฟฟิค

หลังจากที่ สตีฟ จอบส์ ประกาศแก่พนักงานแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ว่าได้ตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2004 และได้เข้ารับการผ่าตัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2004  สตีฟ จอบส์ ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน เขาเป็นโรคมะเร็งในตับอ่อนซึ่งในแบบที่พบได้น้อยมาก ที่เรียกว่า "เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย" (islet cell neuroendocrine tumor) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไม่ต้องการเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัดแต่อย่างใด

โดยหลังจากนั้นเป็นต้นมา สตีฟ จอบส์ ก็มีปัญหาทางด้านสุขภาพเรื่อยมา จนกระทั้ง สตีฟ จอบส์ ได้ตัดสินใจขอลาออก จากการเป็น CEO (ประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2011 โดยมี Tim Cook เป็นผู้ได้รับตำแหน่ง (CEO) นี้แทน

และ สตีฟ จอบส์ ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ด้วยวัยเพียง 56 ปี หลังจากที่แอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ประกาศเปิดตัว ไอโฟน 4เอส ได้เพียงแค่วันเดียว

โดยทางเว็บไซต์ Apple.com ได้เปิดให้ทุกท่านสามารถร่วมไว้อาลัย และแชร์ความรู้สึกในการจากไปของ สตีฟ จ๊อบส์ ได้ที่อีเมล์  rememberingsteve@apple.com อีกด้วย

วันนี้คนทั่วโลก ต่างพูดถึง และร่วมไว้อาลัยแด่ สตีฟ จอบส์ กับมากมาย ไม่ว่าจะทาง เว็บไซต์ของทางแอปเปิ้ลเอง ทางเว็บบอร์ดต่างๆ ทาง Social Network ต่างๆ เช่น FaceBook และ Twitter เป็นต้น

โดยมักขึ้นข้อความว่าย่อๆว่า "R.I.P. Steve Jobs"  ซึ่งคำเต็มๆ ของคำย่อว่า R.I.P. Steve Jobs นี้ก็คือ  Rest in Peace, Steve Jobs นั่นเอง ซึ่งความหมายโดยแปลเป็นภาษาไทยก็คือ "การพักผ่อนอย่างสงบ" หรือ "หลับให้สบาย" หรือ "พักผ่อนให้สบาย" นั่นเอง

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการออกแบบโลโก้ (LOGO) ตามหลักฮวงจุ้ย

      โลโก้ (LOGO) เป็นเครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ เป็นผลงานของการออกแบบทางกราฟฟิคที่เกี่ยวข้องและอ้างอิงกับสัญลักษณ์ (Symbolism) อาจเป็นรูปภาพสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัทนั้นๆ วัตถุประสงค์หลักของโลโก้ก็คือ การทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นสามารถจดจำได้ง่าย ดูมีความน่าเชื่อถือ สวยงาม ติดตา ตรึงใจ ดึงดูด พร้อมบ่งบอกถึงตัวตน สอดคล้องกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ ชื่อบริษัท และตรงกับวัตถุประสงค์หลักของสิ่งที่ต้องการสื่อให้ผู้อื่นทราบในความเป็นตัวตน

      ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ รับออกแบบ รับทำโลโก้ จำนวนมากมาย ซึ่งหลายๆรายอาจไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักโหราศาสตร์ และหลักของฮวงจุ้ย ซึ่งหลักการเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย  เพราะโลโก้ที่ออกแบบนั้น อาจจะต้องถูกนำไปใช้เพื่อจดทะเบียนการค้า พร้อมนำไปใช้เป็นตัวสื่อสารเพื่อให้คนอื่นทั่วไปได้เห็นกันทั่วโลก และเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตน ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามหลักการออกแบบโลโก้ให้เป็นไปตามหลักฮวงจุ้ย เพราะโลโก้ที่ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ยที่ดี เหมาะสมกับเจ้าของกิจการ บริษัท นั้นๆ จะช่วยหนุนนำส่งเสริมทางด้านโชคชะตาได้อย่างมาก ทำให้เกิดความสบายใจ พร้อมกับช่วยทำให้พบกับความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยไร้อุปสรรค

ในการออกแบบโลโก้ให้ตรงตามหลักฮวงจุ้ยของโหราศาสตร์ ทาง AllAlike ผู้ให้บริการ รับออกแบบโลโก้ เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการทราบว่า เจ้าของโลโก้นั้น เป็นคนธาตุอะไรตามหลักของโหราศาตร์ไทยด้วย

โดย จะมีตารางแบ่งธาตุดังนี้

คนเกิดปีชวด    ธาตุน้ำ
คนเกิดปีฉลู    ธาตุดิน
คนเกิดปีขาล    ธาตุไม้
คนเกิดปีเถาะ    ธาตุไม้
คนเกิดปีมะโรง    ธาตุทอง
คนเกิดปีมะเส็ง    ธาตุไฟ
คนเกิดปีมะเมีย    ธาตุไฟ
คนเกิดปีมะแม    ธาตุทอง
คนเกิดปีวอก    ธาตุเหล็ก
คนเกิดปีระกา    ธาตุเหล็ก
คนเกิดปีจอ    ธาตุดิน
คนเกิดปีกุน    ธาตุน้ำ


สีที่เหมาะกับคนธาตุน้ำ คือ เหลือง ขาว น้ำเงิน ม่วง ดำ

สีที่เหมาะกับคนธาตุไม้ คือ เหลือง ขาว ฟ้า เขียว

สีที่เหมาะกับคนธาตุไฟ คือ ขาว ฟ้า เขียว แดง

สีที่เหมาะกับคนธาตุดิน คือ ฟ้า เขียว แดง เหลือง

สีที่เหมาะกับคนธาตุทอง คือ เขียว แดง เหลือง ขาว


      นอกจากนี้ยังมีหลักการต่างๆอีกพอสมควรที่เราใช้ในการออกแบบโลโก้ ซึ่งยังต้องคำนึงถึงความสวยงาม ทันสมัย มีคอนเซ็ป เอกลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ เส้นสายของตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ โดยทั้งหมดเราจะต้องทำให้ลงตัว และออกแบบให้ถูกใจเจ้าของโลโก้ที่สุดด้วย

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Google+ คืออะไร [Google Plus]

Google+ คืออะไร หลายคนคงกำลังสงสัย เพราะในขณะนี้ เริ่มมีกลุ่มคนบางส่วนแชร์ลิงค์ Google+ ผ่านทาง FaceBook กันบ้างแล้ว บางคนก็ชักชวนเพื่อนมาลองเล่น โดยการส่ง Invite ไปหาเพื่อนๆให้เข้าร่วมทดลองใช้

Google+ หรืออ่านว่า Google Plus (กูเกิ้ล พลัส) ก็คือ Social Network ชนิดหนี่งที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นโดยเจ้าของเดียวกับผู้สร้าง Search Engine รายใหญ่ของโลก อย่าง Google ซึ่งทาง Google ได้สร้าง Google+ ขึ้นมา เพื่อหวังต่อกรกับ FaceBook หรือเปล่า ก็ยังไม่มีใครแน่ใจได้ หรือแค่ต้องการแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดบ้าง หรือแค่ว่้างๆเลยลองพัฒนาระบบ Social Network ในรูปแบบใหม่ๆออกมาบ้าง หลังจากไม่ค่อยประสบความสำเร็จจาก Google Buzz และ Google Wave จากที่ผ่านมาก็ตาม


หลักการใช้คร่าวๆ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการ มี Email ของ Gmail ซะก่อน แล้วก็ต้องให้เพื่อนส่ง Invite เพื่อชักชวนให้ลองเล่น Google เหมือนจะสุ่มเลือกคนเพื่อให้ทดลองใช้นะครับ แต่ถ้าใครได้รับเชิญจาก Google แล้ว ก็สามารถ กดส่ง Invite เพื่อให้เพื่อนๆได้ลองใช้งานได้

หากใครเข้าไปโดยตรงผ่านเว็บไซต์ https://plus.google.com/ หากไม่ได้เป็นคนที่ Google เลือกไว้ หรือยังไม่มีใครส่ง Invite ไปให้ ก็จะพบกับข้อความดังรูปภาพนี้




ดังนั้นจะเล่นได้ต้องมีคน Invite เพื่อเชิญชวนให้เราได้เล่นก่อนนะครับ

จากที่ผมทดลองเล่นก็ยังทำอะไรไม่ค่อยถูกนะ ยังมือใหม่อยู่ครับ

หากใครต้องการดูรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม ให้ลองศึกษา ผ่าน YouTube ละกันครับ

โดยลองเอาคำว่า Google+ ไปเซิซกันดูนะครับ เพราะใน YouTube ก็กลายเป็นเจ้าของเดียวกับ Google ไปซะแล้ว

ทีนี้ก็ทราบกันแล้วนะครับ ว่า Google+ คืออะไร หากใครต้องการทดลองเล่น ก็ต้องลองให้เพื่อนคนที่สามารถเล่นได้แล้ว Invite ให้เรานะครับ หรือสาวๆสวยๆคนไหนอยากเล่นจริงๆก็แอบส่ง Email ของ Gmail มาให้ผมก็ได้ครับ เดี๋ยวส่งเบอร์กลับ เอ้ยส่ง Invite Google+ ไปให้ครับ

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบโครงสร้างของการออกแบบเว็บไซต์

รูปแบบโครงสร้างของการออกแบบเว็บไซต์

      การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความถนัดของผู้ออกแบบ รวมถึงกลุ่มของเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบ แบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้


1. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ (Sequential Structure)
      เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาทั่วไปที่ใช้กันมากที่สุด เนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบ ข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราว ตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อน ใช้การลิงค์ (Link) ไปทีละหน้า โดยทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลัง เป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของการออกแบบโครงสร้างแบบเรียงตามลำดับคือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ทำให้เสียเวลา ในการเข้าสู่เนื้อหา

รูปแสดงตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ


2. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)

      เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจัดระบบโครงสร้างที่มีความซับซ้อน ของข้อมูล โดยแบ่งเนื้อหา ออกเป็นส่วนต่างๆ และมีรายละเอียดย่อย ๆ ในแต่ละส่วนลดหลั่นกันมาในลักษณะแนวคิดเดียวกับ แผนภูมิองค์กร จึงเป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจกับโครงสร้างของเนื้อหา ลักษณะเด่นคือการมีจุดเริ่มต้นที่จุดร่วมจุดเดียว นั่นคือ โฮมเพจ (Homepage) และเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับจากบนลงล่าง

รูปแสดงตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น


3. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง (Grid Structure)
      โครงสร้างรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่ผ่านมา การออกแบบเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ โดยเพิ่มการเชื่อมโยง ซึ่งกันและกันระหว่างเนื้อหาแต่ละส่วน เหมาะแก่การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของเนื้อหาภายใน การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้จะไม่เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง เนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ เช่น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของจังหวัดในประเทศไทย โดยในแต่ละจังหวัด สามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเหมือนกันคือ การปกครอง แหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม และสินค้าที่โด่งดังของแต่ละจังหวัด ในขณะที่ผู้ใช้กำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวของเชียงใหม่ ผู้ใช้อาจศึกษาหัวข้อสินค้าที่โด่งดังเป็นหัวข้อต่อไปก็ได้  หรือจะข้ามไปดูหัวข้อแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอื่นก่อนก็ได้เพื่อ

รูปแสดงตัวอย่าง โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง


4. โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม (Web Structure)
      โครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด โดยทุกหน้าภายในเว็บไซต์สามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกันได้หมด เป็นการสร้างรูปแบบการเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นอิสระ ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาได้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละหน้าอาศัยการโยงข้อความที่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาเหมือนกัน ของแต่ละหน้าในลักษณะของ Hyper Text หรือ Hyper Media โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็นรูปแบบที่ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนตายตัว (Unstructured) นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จำกัดเฉพาะเนื้อหาภายในเว็บไซต์นั้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหาจากเว็บไซต์ภายนอกได้

รูปแสดงตัวอย่าง โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม


      ในการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ดี จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจ ง่ายต่อการเยี่ยมชมของผู้ใช้ และยังมีผลต่อการมาเก็บขอมูล และการจัดอันดับของ Search Engine อีกด้วยด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการสำหรับทำเว็บไซต์

หลักการสำหรับการทำเว็บไซต์

      ในการทำเว็บไซต์นั้น ภายในเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ จะเกิดขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ได้ จะต้องประกอบไปด้วยเว็บเพจ ( Web Page ) จำนวนหลายๆหน้ามารวมกัน โดยเรียกหน้าแรกสุดว่า หน้าโฮมเพจ ( Home Page ) สรุปหลักการในการสร้างเว็บเพจหรือการทำเว็บไซต์ ได้ดังนี้

1. การวางแผน
      เริ่มต้นด้วยการกำหนดเนื้อหาที่จะใช้ภายในเว็บไซต์ ก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ เราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด เพื่อที่เราจะได้นำเนื้อหา เหล่านี้มาใส่ในเว็บไซต์ เพื่อสื่อให้ผู้เข้ามาในเว็บไซต์เรานั้นได้รู้ว่า เนื้อหาโดยรวมนั้นเกี่ยวกับอะไร   เช่น  เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ ก็ต้องมีข้อมูลและหลักการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

2. การออกแบบ
      เราต้องทำการออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบต่างๆในหน้าเว็บเพจ ว่าส่วนใดควรจะมีอะไร เช่น ข้อความ และรูปภาพ ควรอยู่ตรงส่วนไหน อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษไว้ก่อน หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ การแทรกตารางเข้าไป ยังช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บเพจนั้น ทำให้เว็บเพจดูเป็นระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการปรับปรุง แก้ไขอีกด้วย        
3. การเตรียมการ
      การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็น เนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่เราต้องการนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลจึงมีส่วนสำคัญ อย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับ การออกแบบ ก็ต้องไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบ Graphic และการออกแบบสิ่งพิมพ์ มารวบรวมไว้ภายในเว็บไซต์ของเรา แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลมาจัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เครื่องมือในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โปรแกรมในการจัดทำเว็บเพจ จะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้พร้อม

4. การจัดทำ
      เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อย แล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำ  อาจจะทำคนเดียว หรือทำเป็นทีม โดยแบ่งหน้าที่กันเป็นส่วนๆ เช่น ส่วนของคนออกแบบดีไซน์ ส่วนของคนลงโค๊ดเว็บไซต์ เป็นต้น

5. การทดสอบและการแก้ไข
      การทำเว็บไซต์ทุกครั้งควรจะมี การทดสอบก่อนเผยแพร่จริงบน Internet เพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขการทำเว็บไซต์นั้น เมื่อทำเสร็จและอัพโหลดไปบน HOSTING แล้วให้เพื่อนๆหรือคนรู้จัก ลองเข้าเว็บไซต์ของเรา เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดอีกครั้ง เช่น การเชื่อมโยงต่างๆในเว็บไซต์ , รูปภาพ และข้อความ ว่าถูกต้อง และโหลดช้า หรือไม่ หลังจากทดสอบแล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาด

      หลักการสำหรับการทำเว็บไซต์คร่าวๆก็มีเพียงเท่านี้ แต่รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน อาจจะแบ่งย่อยออกไปได้อีกมากมาย และยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สามารถพลิกแพลง และสอดแทรกเข้าไปได้ หรือหากบางท่านไม่สามารถทำเว็บไซต์เองได้ ก็ยังสามารถจ้าง ผู้ให้บริการ ออกแบบ รับทำเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์ให้ท่านได้ เพื่อความสะดวกสะบาย และความสวยงาม